Responsive image Responsive image

น้ำข้าวเหมือนกัน แต่รู้ไหมว่าไม่เหมือนกัน

14 ตุลาคม 2565

น้ำข้าวเหมือนกัน แต่รู้ไหมว่าไม่เหมือนกัน
 
เห็นสีและชื่ออาจดูคล้าย ๆ กัน แต่จริง ๆ แล้ว น้ำซาวข้าว น้ำข้าว และเครื่องดื่มข้าว มีความแตกต่างกันนะ


 
น้ำซาวข้าว - ได้มาจากการล้างข้าวให้สะอาดก่อนนำไปหุง ถึงจะกินไม่ได้ แต่มักถูกนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนอย่างการดองผักให้เกิดรสเปรี้ยว หมักผมให้นิ่มสลวย แก้ปัญหาหนังศีรษะมันและอาการคัน รวมทั้งนิยมนำสำลีมาจุ่มใช้มาส์กหน้า ถูพื้นไม้ให้เงางาม และมีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารทะเลอีกด้วย
 
น้ำข้าว - ได้มาจากการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ หรือวิธีหุงข้าวสมัยเก่าที่ต้องเทน้ำออกเพื่อให้ข้าวแห้งเรียงเม็ดสวย มักนำมาผสมเกลือหรือน้ำตาล มีรสหวานปะแล่ม คนเก่าก่อนนิยมใช้น้ำข้าวป้อนเด็กทารกแทนน้ำนมแม่ ในเวลาที่มีน้ำนมไม่เพียงพอ เพราะมีวิตามินหลากหลาย และให้คุณค่าทางสารอาหารเหมือนกันกับข้าว นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องกินอาหารอ่อน ๆ เนื่องจากย่อยง่าย และช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารและซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอได้ทันท่วงที
 
เครื่องดื่มข้าว Antho-Plus+ - ทางเลือกใหม่ที่สะดวกสำหรับคนมีเวลาน้อย แค่เติมน้ำร้อน ฉีกซอง คน 1 นาที ก็ดื่มได้เลย มีกลิ่นหอม รสอร่อยจากข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ผสมแอนโทไซยานินจากข้าวสีเข้ม สามารถดื่มได้บ่อย อยู่ท้อง เพียง 60 kcal ที่สำคัญยังได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติอีกด้วย
 
ประหยัดเวลาและได้รับประโยชน์เหมือนเคย สนใจสั่งซื้อแอนโทพลัสได้ทาง Line: @salana หรือ https://bit.ly/3cKp4Gj และตัวแทนจำหน่ายแอนโทพลัสทั่วประเทศ



เรื่องที่น่าสนใจ

ในแบบเรียนภาษาไทย เราได้อ่านเรื่องราวความอุดมสมบูรณ์ของผืนนาผ่านตัวสะกดง่าย ๆ

ในกาลก่อน “นาข้าว” เป็นเสมือนขุมทรัพย์ที่ทำให้เราสามารถมีกิน มีใช้ ได้อย่างไม่รู้หมด ทว่าในยุคหลังไม่กี่สิบปีมานี้ การทำนาแบบดั้งเดิมเพื่อกิน เพื่อใช้ เริ่มหายไป ชาวบ้านต่างทำนาเพื่อให้ได้ผลผลิตมาก ๆ

“จงใช้อาหารเป็นยารักษาโรค” คือปรัชญาในการรักษาโรคที่ฮิปโปเครติส บิดาทางการแพทย์ของชาวกรีกกล่าวไว้มานานกว่า 2500 ปี

“มอด” นับว่าเป็นศัตรูของคนหุงข้าวกินเอง โดยเฉพาะเวลาซื้อข้าวอินทรีย์มาทีไร ไม่เคยกินข้าวทันเจ้ามอดสักที แต่รู้ไหม ว่าจริง ๆ แล้ว การที่ข้าวสารของคุณมีมอดมาเยือน นั่นถือเป็นสัญญาณที่ดีนะ

เคล็ดลับที่แม้แต่คนหุงข้าวทุกวันก็ยังควรรู้