Responsive image Responsive image

4 วิธีไล่มอด แบบไหนรอดแน่

19 ตุลาคม 2565

4 วิธีไล่มอด แบบไหนรอดแน่
 
“มอด” นับว่าเป็นศัตรูของคนหุงข้าวกินเอง โดยเฉพาะเวลาซื้อข้าวอินทรีย์มาทีไร ไม่เคยกินข้าวทันเจ้ามอดสักที แต่รู้ไหม ว่าจริง ๆ แล้ว การที่ข้าวสารของคุณมีมอดมาเยือน นั่นถือเป็นสัญญาณที่ดีนะ
 
การมีมอดบ่งบอกได้ว่าข้าวอินทรีย์ที่เราเลือกกินนั้นปราศจากสารเคมีตลอดทั้งกระบวนการตั้งแต่การปลูก กะเทาะเปลือก ขัดสี และแพ็กลงถุง เพราะมอดเป็นศัตรูพืชที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยปกติไข่มอดจะตกค้างอยู่ในเมล็ดข้าวตั้งแต่ออกรวงหรือเก็บเกี่ยว แต่ในกรรมวิธีการขัดสีของโรงสีทั่วไป (ที่ไม่ใช่ข้าวอินทรีย์) จะมีการรมยากันมอดหรือสารเคมีที่ชื่อว่าเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) และสารฟอสฟีน (Phosphine) ทำให้มอดไม่สามารถฟักเป็นตัวได้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงเจอมอดในข้าวอินทรีย์ได้ง่ายกว่า แต่ก็ใช่ว่าข้าวสารทั่วไปจะไม่เจอมอดเลย เพราะเมื่อเราซื้อข้าวมาระยะหนึ่ง เปิดถุงข้าวสารบ่อย ๆ จึงทำให้ยารมมอดเริ่มหมดฤทธิ์ และทำให้ไข่มอดฟักตัวขึ้นมาได้เหมือนกัน 
 
รู้อย่างนี้แล้ว เพื่อสุขภาพของเราและคนในบ้าน ควรเลือกกินข้าวอินทรีย์ที่มั่นใจได้ว่าปลอดสารเคมีในทุกกระบวนการผลิตอย่าง “ข้าวศาลานา” ซึ่งจริง ๆ แล้วมีคนคิดค้นวิธีกำจัดมอดมาแล้วหลากหลาย ทั้งใช้น้ำส้มสายชู ใส่พริก ตากแดด หรือแม้กระทั่งใช้ช้อนสแตนเลส แต่วิธีไหนกันล่ะที่ไล่แล้วรอดแน่ ศาลานาพิสูจน์มาให้แล้ว!
 


วิธีที่ 1 - น้ำส้มสายชูใส่ถ้วย วางบนข้าวสาร
มอดเป็นแมลงที่ไวต่อกลิ่น เมื่อเจอวิธีการเทน้ำส้มสายชูใส่ถ้วย แล้ววางไว้บนข้าวสาร จึงเป็นวิธีเร็วและได้ผลดีที่สุด เพราะแค่ได้กลิ่นฉุน ๆ ของน้ำส้มสายชู มอดก็หนีภายใน 2 นาที
 
วิธีที่ 2 - ปักด้วยช้อนสแตนเลส
วิธีแปลกที่ยังไม่มีเหตุผลอย่างชัดเจนว่าทำไมมอดถึงหนีไป บ้างก็ว่าเพราะในช้อนสแตนเลสมีสารโครเมียม คาร์บอน และนิเกิลอยู่มาก ซึ่งอาจไปรบกวนระบบร่างกายของมอด บ้างก็ว่าเป็นแรงสั่นสะเทือนตอนปักช้อนลงไป และบ้างก็บอกเพราะความแวววาวของช้อน ถึงจะยังไม่มีข้อพิสูจน์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าวิธีนี้ทำให้มอดหนีไปได้จริง อ้างอิงจากที่เราทดลองคือมอดหนีภายใน 6 นาที แต่หนีไปไม่หมด
 
วิธีที่ 3 - ใส่พริกแห้ง ใบมะกรูด
พืชสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุนอย่างพริกและใบมะกรูดก็เป็นหนึ่งวิธี ยิ่งพริกมีสารแคพไซซินที่ทำให้เกิดการเผ็ดร้อนยิ่งเป็นเหมือนตัวไล่มอดชั้นดี เจอเมื่อไหร่มอดก็หนี อย่างในการทดลองของเรามอดก็หนีภายใน 4 นาทีเลย แต่ว่าหนีไปไม่หมดนะ
 
วิธีที่ 4 - ตากแดด
มอดไม่ชอบแสงแดดและความร้อน การนำข้าวที่มีมอดไปตากแดดจึงทำให้มอดพากันหนีตั้งแต่นาทีที่ 2 แต่อาจต้องใช้เวลานานเป็นชั่วโมงกว่ามอดจะหมด และข้อเสียที่สำคัญของวิธีนี้ก็คือจะทำให้กลิ่นหอมของข้าวหายไปด้วย
 
แทนที่จะต้อง “กำจัดมอด” ที่มีมากมาย ศาลานาขอแนะนำ “วิธีป้องกันมอด” ที่รอดแน่ตั้งแต่ต้นทาง เพียงเก็บข้าวอินทรีย์ใส่ไว้ในโหลสุญญากาศ แล้วแช่ไว้ในตู้เย็นแทนการเก็บข้างนอกในอุณหภูมิห้อง แค่นี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าคุณประโยชน์ของข้าวจะลดลง แถมยังรับรองว่าลาขาดมอดได้ตลอดไปอีกด้วย
 
สั่งซื้อข้าวอินทรีย์ศาลานาได้ที่
LINE: @Salana https://bit.ly/3cKp4Gj
Website www.salanashop.com
Shopee https://shopee.co.th/salana_organic1
Lazada  www.lazada.co.th/shop/salana-organic-village
JD Central  www.jd.co.th/shop/pc/20435.html



เรื่องที่น่าสนใจ

เห็นสีและชื่ออาจดูคล้าย ๆ กัน แต่จริง ๆ แล้ว น้ำซาวข้าว น้ำข้าว และเครื่องดื่มข้าว มีความแตกต่างกันนะ

ทั้งที่อยู่บ้านเดียวกันแท้ ๆ แต่ยังเหมือนมีช่องว่างระหว่างกัน ไม่รู้จะคุยอะไรด้วยดี เรามีกิจกรรมกระชับมิตรระหว่าง ปู่ย่าตายาย-พ่อแม่-ลูกหลาน มาแนะนำให้!

ผืนนาอีสานบ้านเฮา นอกจากจะกินพื้นที่กว้างขวางกว่าผืนนาภาคอื่น ๆ แล้ว ประสบการณ์ปลูกข้าวอินทรีย์ของชาวนาภูมิภาคนี้ก็ “เก๋า” ชนิดว่าไม่เป็นรองใครเลย!

กินข้าว 5 สายพันธุ์ ดีกว่ากินข้าวพันธุ์เดียวอย่างไร?

เปิดกระสอบข้าวสารคุยกัน ในร้านขายข้าวที่เรา (เคย) คุ้น