Responsive image Responsive image

Put the RICE menu to the RIGHT mom

5 กรกฎาคม 2564



คุณแม่ที่กำลังอุ้มท้องเบบี๋ ไม่ว่าจะกินอะไรมักคิดว่าต้องกินให้อิ่มเผื่อลูกในท้องด้วยเสมอ แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่ลูกน้อยต้องการจากมื้ออาหาร ไม่ใช่แค่ปริมาณอย่างเดียว การกินสารอาหารที่ลูกต้องการเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการก็เป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องคิดเผื่อลูกในท้องด้วยเช่นกัน

ในระยะครรภ์แต่ละไตรมาสของคุณแม่ ก็จะมีความต้องการอาหารทั้งเพื่อตัวเองและลูกที่ต่างกันไป แต่สิ่งที่ไม่ต่างกันคืออาหารหลักอย่าง “ข้าว” เชื่อว่าคุณแม่ต้องเลือกข้าวที่ดีที่สุดเพื่อตัวเองและลูก ข้าวที่อุดมไปด้วยโฟเลต มีวิตามิน B รวม และขัดสีน้อย ดีต่อระบบย่อย ทั้งหมดนี้รวมอยู่ใน “ข้าว 5 สายพันธุ์” เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นข้าวที่เราอยากขีดเส้นใต้ว่าอยากให้คุณแม่ได้กินเผื่อลูกในทุกมื้อ 

นอกจากเลือกกินข้าวดี เรามาดูกันว่าคุณแม่ท้องในแต่ละช่วงอายุครรภ์ควรเพิ่มสารอาหารอะไรให้เป็นประโยชน์กับลูกน้อยบ้าง



ครรภ์ไตรมาสที่ 1
คุณแม่แพ้ท้อง กินข้าวได้น้อย ควรแบ่งเป็นมื้อย่อย เน้นสารอาหารให้ครบ


ไตรมาสแรก คุณแม่หลายคนต้องเผชิญกับอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน ทำให้กินอาหารได้น้อยลง ในช่วงนี้จึงต้องดูแลเรื่องอาหารการกินของคุณแม่เป็นพิเศษ เพราะอาจขาดสารอาหารที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย ช่วงกำลังเริ่มสร้างอวัยวะต่าง ๆ และยังเป็นช่วงสำคัญในการพัฒนาเซลล์สมองของลูกให้มีความสมบูรณ์ที่สุด

วิธีกินที่เวิร์กที่สุดสำหรับคุณแม่ช่วงแพ้ท้อง คือการแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ วันละ 5-6 มื้อ โดยเลือกอาหารที่ย่อยง่าย ไม่คาว ไม่มัน มีกลิ่นน้อย ๆ และเพิ่มสารอาหารที่สำคัญ เพื่อพัฒนาลูกน้อยในไตรมาสนี้แทรกไปด้วย เช่น โฟเลต ซึ่งคุณแม่ควรได้รับโฟเลตตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และควรกินต่อเนื่อง เพราะมีความจำเป็นต่อการสร้างเซลล์สมอง ไขสันหลัง และกระดูกสันหลังของลูกในท้อง ซึ่งโฟเลตมีมากใน ผักกะหล่ำ กุยช่าย คะน้า และที่สำคัญมีอยู่ใน “ข้าวอินทรีย์ 5 สายพันธุ์” ซึ่งมีวิตามิน B รวมที่ช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ด้วยนะ

นอกจากนี้ คุณแม่ท้องยังต้องการธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่จะนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงสมองของลูกน้อย ซึ่งธาตุเหล็กพบมากในถั่วเขียว ปวยเล้ง บรอกโคลี ในแต่ละมื้อคุณแม่ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย ได้สารอาหารที่ดี เช่น เนื้อปลาทะเล ที่มีโอเมก้า 3 สารตั้งต้นของดีเอชเอ (DHA) กรดไขมันที่มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการ และการทำงานของสมองและจอประสาทตาของลูกน้อยในครรภ์ด้วย



ครรภ์ไตรมาสที่ 2
เลือกข้าวที่ย่อยง่าย คู่อาหารให้พลังงาน เพราะตัวจิ๋วกำลังเริ่มสร้างอวัยวะ


ช่วงไตรมาสที่สอง พอคุณแม่เริ่มแพ้ท้องน้อยลง อาจหิวบ่อยขึ้น เพราะอัตราการเผาผลาญพลังงานจะมากกว่าปกติ เจ้าตัวจิ๋วในครรภ์รับสารอาหารได้มากขึ้น และกำลังสร้างเนื้อเยื่อรวมถึงอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ อย่างแข็งขัน คุณแม่จึงต้องกินสารอาหารที่ครบถ้วนและให้พลังงาน เพื่อให้ลูกในท้องได้รับอย่างเพียงพอ

ช่วงนี้กระเพาะอาหารของคุณแม่จะถูกเบียด ทำให้มีพื้นที่น้อยลง การกินมื้อเล็ก ๆ แต่มากมื้อยังนำมาใช้ต่อในไตรมาสนี้ได้ โดยอาหารแต่ละมื้อที่คุณแม่เลือกกินควรเป็นอาหารที่สดใหม่ ผ่านการปรุงน้อย เพื่อคงคุณค่าทางอาหาร เน้นโปรตีนเพิ่มพลังงาน หากคุณแม่อยากเลี่ยงโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก ลองเลือกโปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้ ที่ทำจากถั่วเหลืองหรือพืชตระกูลถั่วอื่น ๆ เพราะโปรตีนช่วยสร้างเซลล์กล้ามเนื้อของลูก และช่วยซ่อมแซมร่างกายของคุณแม่ 

อีกหนึ่งของสารอาหารที่คุณแม่ขาดไม่ได้ คือแคลเซียม คุณแม่ควรได้รับอย่างเพียงพอในช่วงไตรมาสนี้ เพื่อให้ลูกน้อยนำไปใช้ในการสร้างกระดูก ซึ่งมีอยู่ในผลิตภัณฑ์จากนม งาดำ เม็ดบัว ผักใบเขียวต่าง ๆ และในแต่ละมื้อ คุณแม่ควรเลือกกินข้าวที่ขัดสีน้อยที่มีไฟเบอร์สูง ช่วยให้ย่อยง่าย ดีต่อระบบขับถ่ายของคุณแม่ ในข้าวซ้อมมือยังมีวิตามิน B1 และ B2 ช่วยป้องกันอาการเหน็บชา และการเกิดตะคริวในคุณแม่ด้วย



ครรภ์ไตรมาสที่ 3
กินเพื่อพัฒนาการสมองของลูก และบำรุงเลือดลม เตรียมน้ำนมของแม่


ช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้ อีกไม่นานก็ได้เห็นหน้าลูกน้อยแล้ว ยิ่งใกล้โค้งสุดท้าย คุณแม่ยิ่งต้องกินให้ดีเพิ่มบำรุงอย่างต่อเนื่อง เพราะระยะนี้ ลูกในท้องจะมีพัฒนาการของสมองที่รวดเร็วมาก คุณแม่ควรเลือกกินอาหารที่ช่วยบำรุงสมองและเซลล์ประสาทให้ได้มากที่สุด 

นอกจากอาหารบำรุงสมองอย่าง DHA แล้ว ยังมี โคลีน (Choline) สารอาหารสำคัญที่จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามิน B มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเรียนรู้และความจำ เมื่อคุณแม่ได้รับโคลีนในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยปกป้องลูกจากความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานประเภท 2 เมื่อเขาเติบโตขึ้นด้วย แต่ร่างกายของคุณแม่สร้างโคลีนได้ในปริมาณน้อย จำเป็นต้องได้รับจากอาหารจากพืชและสัตว์เพิ่ม เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ไข่แดง เครื่องในสัตว์ เป็นต้น 

นอกจากนี้ ตัวคุณแม่เองยังต้องคำนึงถึงการกินที่ช่วยเพิ่มน้ำนมหลังคลอด ควรกินสมุนไพรฤทธิ์ร้อน เช่น ขิง พริกไทย กะเพรา พืชผักเหล่านี้จะช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี กระตุ้นให้คุณแม่มีน้ำนมมากขึ้น อาจแทรกสมุนไพรเหล่านี้ลงไปในมื้ออาหารหลัก กินคู่กับข้าวที่มีวิตามิน B รวมเยอะ ๆ เพราะวิตามิน B รวม จะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลาย ลดความเครียดในวันใกล้คลอดได้มากเลยล่ะ

ให้การกินข้าวทุกมื้อดีต่อคุณแม่และช่วยดูแลตัวจิ๋วในครรภ์
ด้วยประโยชน์จาก “ข้าว 5 สายพันธุ์” ของศาลานา


สั่งซื้อข้าว 5 สายพันธุ์เพื่อสนับสนุนเกษตรกร และดูแลสุขภาพที่ดีได้ที่ https://www.salana.co.th/order.php
 



เรื่องที่น่าสนใจ

สงสัยไหมว่าทำไมข้าวที่เรากิน ถึง ‘นุ่ม’ ไม่เท่ากัน

รู้จักแอนโทไซยานิน สารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ ที่ซุกซ่อนอยู่ในข้าวสีเข้ม

เรื่องดัก ‘เก๋า’ เกี่ยวกับข้าว ที่ยังหอมฉุยอยู่ในความทรงจำ

อยากเป็นคุณแม่ครรภ์แข็งแรง! เสริมโฟเลตธรรมชาติด้วยการกินข้าว 5 สายพันธุ์

ข้าวผัดบะจ่าง สูตรนี้รักสุขภาพ ต้อนรับวันไหว้บะจ่างด้วยสูตรข้าวผัดง่าย ๆ ที่ทำเองได้ที่บ้าน