Responsive image Responsive image

SILVER GENERATION อายุไม่ใช่เรื่องใหญ่...สูงวัยยังเท่ได้

18 กุมภาพันธ์ 2565



ปัจจุบันประโยคที่ว่า “อายุเป็นเพียงตัวเลข” ไม่ได้เป็นแค่คำพูดเล่น ๆ เพื่อเรียกรอยยิ้มอีกต่อไป แต่กลายเป็นเทรนด์ของผู้ (กำลังจะ) สูงวัยยุคใหม่ ที่พร้อมลงทุนกับการดูแลสุขภาพ ซึ่งถูกโลกการตลาดนิยามแบบเท่ ๆ ว่า วัยสีเงินหรือ SILVER GENERATION
 
Health is the new wealth
เมื่อสุขภาพกลายเป็นความมั่งคั่งใหม่ ที่คนเกือบสูงวัยถามหา

เพราะโลกและประเทศไทยในวันนี้ กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุหรือ Aging Society อย่างสมบูรณ์แบบ นั่นแปลว่าอนาคตอันใกล้นี้ กลุ่มผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุซึ่งมีช่วงอายุระหว่าง 55-70 ปี จะกลายเป็นคนกลุ่มหลักในแง่ส่วนแบ่งการตลาดของโลก เนื่องจากวัยสีเงินนี่แหละ คือกลุ่มคนที่มีเวลาว่าง และมีกำลังซื้อที่สูงจากเงินเก็บที่สะสมจากการทำงาน และสิ่งที่คนวัยนี้เลือกที่จะลงทุนกับมันเป็นอันดับแรกก็คือเรื่อง “สุขภาพ”
 
ไม่ใช่แค่การดูแลสุขภาพตามวัยที่สูงขึ้น แต่คนกลุ่มสีเงินยังมี “วิธีคิด” ที่เปิดกว้าง ใส่ใจการแสวงหา “ความสุขในแบบของตัวเอง” และที่สำคัญ คือมีคาแรกเตอร์ที่ “ไม่ยอมแก่” ลองไปดู ว่าชาว SILVER GENERATION มีมุมมองต่อสุขภาพ และวิธีคิดต่อการดูแลตัวเองแบบไหนบ้าง
 


ยอมลงทุนกับอาหารดี ๆ ในทุกมื้อ
 
ที่ผ่านมา พฤติกรรมการดูแลตัวเองของคนไทยไม่สอดคล้องกับอายุขัยเฉลี่ยที่เพิ่มมากขึ้น นั่นทำให้ผู้สูงวัยหลายคนอายุยืน แต่กลับมีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคเรื้อรังสูง ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ ดังนั้น สิ่งที่คนวัยสีเงินซึ่งกำลังจะก้าวเข้าสู่สูงวัยให้ความใส่ใจเป็นเรื่องแรก คือเรื่อง “อาหารการกินที่ดี” เพราะพวกเขาเรียนรู้จากคนที่แก่กว่าแล้ว ว่าอาหารฟาสต์ฟู้ด จังก์ฟู้ด หรืออาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม จะก่อให้เกิดโรคได้
นอกจากเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อโรค ชาวสีเงินยังลงทุนกับอาหารที่ดีต่อสุขภาพในทุกมื้อ ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ ธัญพืช และอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง หนึ่งในนั้นคือการเริ่มจากสิ่งที่เราต้องกินทุกวันอย่าง “ข้าว” โดย เลือกกินข้าวสีเข้ม และออร์แกนิก เพราะที่ผิวข้าวสีนั้น มีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่า ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายได้เป็นอย่างดี ส่วนการเลือกกินข้าวที่มั่นใจว่าไม่ใส่สารเคมีนั้น ย่อมดีต่อสุขภาพในระยะยาวมากกว่า
 


ยอมรับและชื่นชมการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ
 
คนวัยสีเงินในยุคนี้มีเงื่อนไขทางสังคมที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะอัตราการหย่าร้างที่สูงขึ้น จึงทำให้มีวิธีคิดหรือ mindset ที่เปิดกว้างมากขึ้น คนวัยนี้อยากดูดีเหมือนวัยหนุ่มสาว แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่พยายามฝืนธรรมชาติจนเกินไป ไม่แปลกที่เราจะเห็นพวกเขาปล่อยผมให้กลายเป็นสีเงินแทบทั้งศีรษะ แต่ยังเท่ และดูมีสไตล์ได้ด้วยการแต่งตัวที่ดูดี หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากสารเคมี ดังนั้น แทนที่จะเลือกน้ำยาย้อมผมเคมี พวกเขากลับหันมาเลือกบอดี้และสกินแคร์ที่มาจากวัตถุดิบธรรมชาติ นั่นรวมไปถึงการเลือกใส่เสื้อผ้าด้วยเช่นกัน
 


ยอมออกแรงกาย เพื่อให้มีแรงใจสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
 
ข้อดีอีกอย่างของชาวสีเงิน คือความพร้อมที่จะบริหารสุขภาพทั้งกายและใจ โดยที่ไม่ต้องให้แพทย์หรือใครมาคอยบอกและเตือน ชาวสีเงินจึง สนุกกับการวางแผนกิจกรรมที่ทำให้ตัวเองมีความสุขได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาใคร (โดยเฉพาะลูกหลาน) เป็นเรื่องปกติที่พวกเขาจะมีงานอดิเรกที่ตัวเองเสพติด ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายเบา ๆ อย่างโยคะ การดูแลรดน้ำต้นไม้ การเย็บปักถักร้อย หรือแม้กระทั่งการโลดแล่นในโลกโซเชียล เช่น แอปติ๊กต่อก แอปร้องเพลงคาราโอเกะ เพราะคนกลุ่มนี้รู้แล้ว ว่ากายและใจสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง จึงไม่อิดออดที่จะดูแลมันให้ดี
 


ยอมใครก็ได้ แต่จะไม่ยอมให้ใครต้องมาคอยดูแล
 
นอกจากโรคเรื้อรังแล้ว โรคอัลไซเมอร์ก็กลายเป็นสิ่งที่คนสูงวัยหวั่นกลัว ดังนั้น เพื่อไม่ให้ตัวเองเป็นภาระของลูกหลาน หนึ่งในเรื่องที่พวกเขาให้ความสำคัญมาก ๆ คือเรื่องการฝึกสมอง ฝึกความจำไม่ให้เสื่อมถอย การเล่นดนตรี เล่นเกมฝึกสมอง หากิจกรรมที่ช่วยให้ความจำยังดีเสมอ จึงต้องทำไปควบคู่กับการเลือกกินอาหารบำรุงสมอง
 


สร้างชีวิตที่ยั่งยืน พร้อมแบ่งปันสู่คนรอบข้าง
 
จะเห็นว่านิสัยไม่ยอมแก่ของชาวสีเงิน ไม่เพียงเป็นผลดีต่อตัวเองและคนในครอบครัวเท่านั้น แต่การดูแลตัวเองด้วยการลงทุนในสิ่งที่ดีของคนกลุ่มนี้ ยังได้ “ส่งต่อและแบ่งปัน” ให้กับเกษตรกรอินทรีย์ รวมถึงสนับสนุนแบรนด์ หรือกลุ่มคนที่ผลิตข้าวของเครื่องใช้ที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อสร้างให้เกิดวงจรที่ดีในสังคม และสร้างความยั่งยืนที่แท้จริงให้เกิดขึ้นต่อไป
 
ศาลานา ขอขอบคุณชาวสีเงินที่หันมาใส่ใจสุขภาพพร้อมทั้งแบ่งปันให้สังคม มาร่วมสร้างสังคมที่ดีไปด้วยกัน
 
สั่งข้าวมะลินิลสุรินทร์อินทรีย์ และแอนโทพลัสได้ที่ www.salanashop.com



เรื่องที่น่าสนใจ

กินข้าว 5 สายพันธุ์ ดีกว่ากินข้าวพันธุ์เดียวอย่างไร?

ปีใหม่ ทำไมต้องกิน ‘ข้าวใหม่’?

รศ. ดร. ประภาส ปิ่นตบแต่ง นักวิชาการรัฐศาสตร์ผู้ชี้ (และทำ) ให้เห็นว่าทางรอดของชาวนาไทยคือการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ปรึกษาโครงการศาลานา นักวิชาการรัฐศาสตร์ และชาวนาผู้ขับเคลื่อนคุณค่าของข้าวอินทรีย์

“ไม่มีใครบอกว่าคนสูงวัยต้องอยู่กับบ้าน เที่ยวไม่ได้ เราจะรู้ตัวของเราเองว่าเรามีศักยภาพแค่ไหน ถ้าเรายังรอ เราอาจจะพลาดโอกาส ป้าเกษสนับสนุนให้คนใช้ชีวิตตามใจตัวเอง รักตัวเอง สิ่งไหนทำแล้วมีความสุข ทำเลย สูงวัยแล้ว ไม่จำเป็นต้องอยู่แต่บ้านหรอก”

ดื่ม ‘ข้าว’ กันไหม? จากวัฒนธรรมดื่มน้ำข้าว สู่นวัตกรรมชงดื่มง่ายเพื่อผู้สูงวัย