Responsive image Responsive image

ทำไมข้าวที่เรากิน ถึง ‘นุ่ม’ ไม่เท่ากัน?

14 มีนาคม 2563

สงสัยไหมว่าทำไมข้าวที่เรากิน ถึง ‘นุ่ม’ ไม่เท่ากัน บางสายพันธุ์ก็นุ่มนิ่มถูกใจ บางสายพันธุ์แอบมีความหนึบหนับ บางสายพันธุ์ก็ร่วนค่อนไปทางแข็งซะจนฝืดคอ



สาเหตุที่เป็นแบบนั้นก็เพราะในเมล็ดข้าวแต่ละสายพันธ์ุมี ‘อะไมโลส’ หรือโครงสร้างคาร์โบไฮเดรตแตกต่างกัน ข้าวที่มีปริมาณอะไมโลสต่ำจะมีลักษณะเหนียวนุ่ม ข้าวที่มีอะไมโลสปานกลางจะค่อนข้างร่วนแต่ไม่ถึงกับแข็ง และข้าวที่มีอะไมโลสสูงจะมีลักษณะร่วนและแข็ง เท่ากับว่ายิ่งมีปริมาณอะไมโลสจำนวนมากเท่าไหร่ โครงสร้างภายในเมล็ดข้าวจะยิ่งแข็งแกร่ง ความนุ่มของข้าวจะยิ่งน้อยลงเท่านั้น นั่นเอง
 
ก่อนจะส่งข้าวเสิร์ฟถึงครัวของทุกคน ศาลานาจึงมีการทดสอบปริมาณอะไมโลสของข้าวแต่ละสายพันธุ์เพื่อควบคุมคุณภาพความนุ่ม รวมไปถึงความใหม่ของข้าวที่เกษตรกรแต่ละพื้นที่ส่งมาด้วย โดยพบว่าข้าวหอมมะลิ 105 อินทรีย์ คือข้าวสายพันธุ์ที่นุ่มนิ่มที่สุดที่ศาลานามี ปริมาณอะไมโลสอยู่ที่ประมาณ 13.71-14.68% ส่วนข้าวมะลินิลสุรินทร์อินทรีย์ที่เห็นว่ามีสีเข้มหน่อย คนจึงมักเข้าใจว่าเมล็ดจะแข็ง แต่จริง ๆ แล้วก็มีปริมาณอะไมโลสไล่เลี่ยกันกับข้าวขาวคือ 13.76-14.21% เท่ากับว่าจริง ๆ แล้วนั้นข้าวสองชนิดนี้นุ่มนิ่มไม่แพ้กันเลย
 
ที่แข็งขึ้นมาอีกหนึ่งระดับคือข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์ซึ่งมีปริมาณอะไมโลสอยู่ที่ 16.72-17.64% ส่วนข้าว 5 สายพันธุ์อินทรีย์ที่มีการผสมข้าวหลากหลายชนิดเข้าด้วยกันทั้งข้าวหอมมะลิ 105 ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวมะลินิลสุรินทร์ ข้าวปทุมธานี 1 และข้าว กข 43 นั้นมีปริมาณอะไมโลสอยู่ที่ 19.6% แม้ว่าทั้งคู่จะนุ่มนิ่มไม่เท่าสายพันธุ์อื่น แต่ถึงอย่างนั้นก็มีความ Aldente เคี้ยวหนึบหนับเข้ามาทดแทน แถมยังมีระดับน้ำตาลต่ำ เหมาะกับคนที่ใส่ใจเรื่องการควบคุมน้ำหนักและน้ำตาล
 
และถึงแม้ว่าปริมาณอะไมโลสของข้าวแต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน แต่ไม่ว่าจะเป็นข้าวสายพันธุ์ไหน ศาลานาก็รับประกันว่าความนุ่มนี้ยังอยู่ในระดับมาตรฐานที่กินแล้วอร่อย แถมยังอุดมไปด้วยวิตามินที่ช่วยบำรุงระบบประสาท เสริมการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ ช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระบำรุงผิวให้สวยใสได้แน่นอน
 
เลือกซื้อข้าวศาลานาไปพิสูจน์ความนุ่มได้ที่
LINE: @Salana https://bit.ly/3cKp4Gj
Website www.salanashop.com
Shopee https://shope.ee/403p63yFf6
Lazada www.lazada.co.th/shop/salana-organic-village

 



เรื่องที่น่าสนใจ

ถ้าเคยลงมือทำการเกษตร คุณคงพอเข้าใจว่า ‘ดิน’ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับการเพาะปลูก

วิทยาศาสตร์ว่าด้วย ‘ความอร่อย’ ของข้าว ที่คนกินไม่เคยรู้

ข้าวเอเชียเหมือนกัน แต่สั้น-ยาว-ใหญ่ ไม่เท่ากัน รูปพรรณสัณฐานของข้าว บอกอะไรเราบ้าง

ระยะทางที่ข้าวเดินทางมาถึงจานคนกิน

เพื่อน ๆ ชาว ส.ว. (สูงวัย) ใครกำลังเจอปัญหาถ่ายรูปแล้วภาพเบลอ หรือถ่ายอย่างไรก็ไม่ได้ดั่งใจกันอยู่หรือเปล่า?