Responsive image Responsive image



วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม
 2563:
 
ช่วงเช้า  
08:30 – 09:00 น. ทำความรู้จักกันและสำรวจความคาดหวัง โดย เจ้าหน้าที่โครงการศาลานา
  • ทำความรู้จักกัน
  • สำรวจความคาดหวังของการมาอบรม
09:00 – 12:30 น.
(10:30 น. รับประทานอาหารว่าง)
บรรยายและแลกเปลี่ยน โดย อ.ชูเกียรติ  โกแมน

นิเวศของเกษตรธรรมชาติ 
  • เรียนรู้ธรรมชาติของระบบนิเวศ  ปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกพืช เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดการระบบเกษตร
การปรับปรุงบำรุงดิน 
  • เรียนรู้และเข้าใจคุณสมบัติของดิน เพื่อการปรับปรุงดินอย่างถูกต้อง
การหมุนเวียนทรัพยากรมาใช้ในแปลงฟาร์ม
  • การจัดการระบบปศุสัตว์และการจัดการของเสียในฟาร์ม เพื่อลดต้นทุนการผลผลิต
12:00 – 13:30 น. รับประทานอาหารกลางวัน 
   
ช่วงบ่าย  
13:30 – 14:00 น. เดินทางจากโครงการศาลานาไปยัง ศพก. แหลมบัว
14:00 – 17:30 น.
(15:30 น. รับประทานอาหารว่าง)
ดูงาน และสนทนาแลกเปลี่ยน โดย คุณณรงค์  กลิ่นถือศีล

ดูงานพื้นที่รูปธรรมตามหลักเกษตรนิเวศ (Permaculture) และแลกเปลี่ยนแนวคิดกับ Smart Farmer 
  • การทำเกษตรผสมผสาน
  • การหมุนเวียนทรัพยากรเพื่อใช้ในแปลงฟาร์ม
  • การออกแบบระบบน้ำและการบริหารจัดการน้ำในแปลงฟาร์ม
  • การทำนาและการจัดการผลผลิต
17:00 น. รับประทานอาหารเย็น
18:00 น. เดินทางกลับที่พัก ทำภารกิจส่วนตัว

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2563:
 
ช่วงเช้า  
07:00 น. รับประทานอาหารเช้า
08:30 – 10:30 น. บรรยายและแลกเปลี่ยน โดย อ.ชูเกียรติ  โกแมน

การออกแบบผังฟาร์มเบื้องต้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดเกษตรวิถีธรรมชาติ
  • เรียนรู้การออกแบบผังฟาร์ม การจัดระบบภายในฟาร์ม เพื่อลดการทำงานให้น้อยลงและได้ประสิทธิภาพที่มากขึ้น
10:30 – 10:45 น. รับประทานอาหารว่าง
10:45 – 12:00 น. ปฏิบัติการ โดย อ.ชูเกียรติ  โกแมน

Workshop  การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์อย่างง่ายและได้ผลเร็ว และการทำปุ๋ยหมักแบบกลับกอง**
  • เทคนิคการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์จากสิ่งที่อยู่ในนิเวศฟาร์ม เพื่อลดต้นทุนในการจัดการ และเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
  • เรียนรู้การนำทรัพยากรในแปลงฟาร์ม และเศษอาหารในชุมชน มาทำปุ๋ยหมัก เพื่อลดต้นทุนในการทำเกษตร
12:00 – 13:30 น. รับประทานอาหารกลางวัน และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรและผู้ขายในตลาดอินทรีย์วิถีธรรมชาติ (ตลาดบ้านรังนก)
   
ช่วงบ่าย  
13:30 – 14:30 น. บรรยายและแลกเปลี่ยน โดย อ.ชูเกียรติ  โกแมน

การเพิ่มมูลค่าของเหลือทางการเกษตร**
  • เรียนรู้การแปรรูปของเหลือทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า 
14:30 – 15:30 น. เสวนาและแลกเปลี่ยน โดย คุณธรรมรัตน์ นิรินธนชาติ

การจัดการผลผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในระดับชุมชน**
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรรุ่นใหม่ เกี่ยวกับการผันตัวจากสถาปนิคมาเป็นเกษตรกรและเจ้าของร้านอาหาร "สุขกินได้" ร้านอาหารที่นำเอาผลผลิตจากฟาร์มมายกระดับเป็นเมนูที่หลากหลายและสร้างมูลค่า
15:30 - 15:45 น. รับประทานอาหารว่าง
15:45 - 16:30 น. ปฏิบัติการ โดย อ.ชูเกียรติ  โกแมน, คุณณรงค์  กลิ่นถือศีล และ ทีมงานมูลนิธิฯ

Workshop สรุปบทเรียนที่ได้จากการเรียนรู้
16:30 น.  เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ


คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
  1. เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจในอาชีพเกษตรวิถีธรรมชาติ
  2. เป็นผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  3. เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกร
  4. มีสัญชาติไทย
  5. สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายตต่อสุขภาพร่างกายเมื่อเข้าสู่การฝึกภาคสนาม
  6. ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ จิตฟั่นเฟืองไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
ที่พัก อาหารและการเตรียมตัว
 
ที่พัก 
  1. บ้านเคียงนา ทีมงานเตรียมสถานที่กางเตนท์และเต้นท์ (ขนาดสำหรับ 1 ท่าน) รวมทั้งเครื่องนอนสำหรับผู้เข้าอบรม หรือสามารถนำเต้นท์และเครื่องนอนมาเองได้ 
  2. โรงแรมแนะนำ ท่านใดที่ไม่สะดวกพักที่บ้านเคียงนา สามารถจองที่พักบริเวณใกล้เคียงกับบ้านเคียงนาได้ 
(1) บ้านไร่โฮมสเตย์@ลำพญา เบอร์ติดต่อ: 081 880 2394, 081 856 6939
(2) กุลนที โฮมสเตย์ นครปฐม เบอร์ติดต่อ: 081 659 7371, 081 721 4874
(3) บ้านสวนรีสอร์ท นครปฐม เบอร์ติดต่อ: 094 402 3348, 034 310 316
(4) ที่พักบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล ห่างจากบ้านเคียงนาประมาณ 30 กิโลเมตร 

อาหาร
  • ทีมงานเตรียมอาหารสำหรับผู้เข้าอบรมครบทุกมื้อตลอด 2 วันที่อบรม 
  • ผู้เข้าร่วมอบรมเตรียมขวดน้ำ หรือกระติกน้ำดื่มมาด้วย
หมายเหตุ
  • ควรเตรียมหมวกและเสื้อคลุมกันแดด หากท่านใดมีโรคประจำตัวควรเตรียมยาส่วนตัวมาให้พร้อม 
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
  • ค่าใช้จ่าย 1,000 บาท/ 2 วัน