Responsive image Responsive image



วันเสาร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563:
ทฤษฎีและปฏิบัติ นิเวศเกษตร การหมุนเวียนทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด หลักการออกแบบผังฟาร์ม
โดย อาจารย์ชูเกียรติ โกแมน
ช่วงเช้า         
08:30 – 09:00 น.        ทำความรู้จักกันและสำรวจความคาดหวัง
  • ทำไมเราต้องออกแบบฟาร์ม
  • ทำความรู้จักและสำรวจ... ตัวเอง พื้นที่ ระบบเกษตร
09:00 – 12:00 น.        การออกแบบฟาร์มในภาพรวม
  • ระบบนิเวศวิทยาทางการเกษตร
  • ชนิดฟาร์มประเภทต่าง ๆ (ผลิตพืช, สัตว์, ประมง / เกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรผสมผสาน)
  • หลักการวิเคราะห์ทรัพยากรที่มี (บุคคล ที่ดิน แหล่งน้ำ องค์ความรู้)
  • การใช้ประโยชน์และการหมุนเวียนทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
12:00 – 13:00 น.        รับประทานอาหารกลางวัน 
ช่วงบ่าย         
13:00 – 16:00 น.        หลักการออกแบบฟาร์มเบื้องต้น
  • การศึกษาสภาพ ดิน น้ำ อากาศ และแสงแดด
  • ระบบสำรองน้ำและระบบการจ่ายน้ำประเภทต่าง ๆ
  • รูปแบบ และวิธีการสำหรับการออกแบบฟาร์มประเภทต่าง ๆ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการออกแบบเบื้องต้น
  • หลักการวางแผนการทำงาน และการวางแผนธุรกิจ
16:00 – 16:30 น.        Workshop การทำปุ๋ยหมักแบบกลับกอง
  • เรียนรู้การนำทรัพยากรในแปลงฟาร์ม และเศษอาหารในชุมชนมาทำปุ๋ยหมัก เพื่อลดต้นทุนในการทำเกษตร ลดเวลา   
    และเพิ่มมูลค่าจากของเหลือ

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2563:
เยี่ยมชมพื้นที่รูปธรรมตามหลักเกษตรนิเวศ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการผลผลิตและการตลาด
ลงมือปฏิบัติการออกแบบผังฟาร์มของตัวเอง
ช่วงเช้า         
08:30 – 10:30 น..        เยี่ยมชมพื้นที่รูปธรรมตามหลักเกษตรนิเวศ
โดย คุณณรงค์ กลิ่นถือศีล
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการฟาร์มเกษตรผสมผสานตามหลักวิถีธรรมชาติ การบริหารจัดการฟาร์ม
    และแนวทางการจัดการผลผลิต
  • เก็บข้อมูลรายละเอียด ศึกษาข้อดี ข้อเสีย และสิ่งที่ควรปรับปรุง (ตามทัศนะของแต่ละบุคคล, แบ่งกลุ่มย่อย)
    เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับงานออกแบบฟาร์มของตัวเอง
10:30 – 12:00 น.        ลงมือออกแบบและวางแผนการทำงาน
โดย อาจารย์ชูเกียรติ โกแมน และ คุณณรงค์ กลิ่นถือศีล 
  • ลงมือออกแบบ และวางแผนการทำงานและแผนธุรกิจ ฟาร์มตัวอย่าง
12:00 – 13:00 น.        รับประทานอาหารกลางวัน
ช่วงบ่าย         
13:00 – 15:30 น.        การจัดการผลผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์
โดย คุณสีตลา ชาญวิเศษ นักคิด Content และที่ปรึกษาด้านการตลาดกลุ่มม่วนใจ๋ 
        ตัวแทนบริษัทศาลานา ออแกนิก วิลเลจ (วิสาหกิจเพื่อสังคม)
  • การสร้างแรงจูงใจดดยการเพิ่มมูลค่า
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความเหมาะสมของพื้นที่
  • มาตรฐานการแปรรูปผลผลิต
  • การสื่อสารและการตลาด
15:30 – 16:30 น.        นำเสนอผังฟาร์มและร่วมกันวิเคราะห์ วิจารณ์
  • นำเสนอผังฟาร์มและการผลิต
  • ร่วมกันวิเคราะห์และวิจารณ์ผล
  • ร่วมกันสรุปผลการอบรม

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
  1. เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจในอาชีพเกษตรวิถีธรรมชาติ
  2. เป็นผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
  4. เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกร
  5. มีสัญชาติไทย
  6. สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายตต่อสุขภาพร่างกายเมื่อเข้าสู่การฝึกภาคสนาม
  7. ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ จิตฟั่นเฟืองไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
ที่พัก อาหารและการเตรียมตัว
 
ที่พัก 
  1. บ้านเคียงนา ทีมงานเตรียมสถานที่กางเตนท์และเต้นท์ (ขนาดสำหรับ 1 ท่าน) รวมทั้งเครื่องนอนสำหรับผู้เข้าอบรม หรือสามารถนำเต้นท์และเครื่องนอนมาเองได้ 
  2. โรงแรมแนะนำ ท่านใดที่ไม่สะดวกพักที่บ้านเคียงนา สามารถจองที่พักบริเวณใกล้เคียงกับบ้านเคียงนาได้ 
(1) บ้านไร่โฮมสเตย์@ลำพญา เบอร์ติดต่อ: 081 880 2394, 081 856 6939
(2) กุลนที โฮมสเตย์ นครปฐม เบอร์ติดต่อ: 081 659 7371, 081 721 4874
(3) บ้านสวนรีสอร์ท นครปฐม เบอร์ติดต่อ: 094 402 3348, 034 310 316
(4) ที่พักบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล ห่างจากบ้านเคียงนาประมาณ 30 กิโลเมตร 

อาหาร
  • ทีมงานเตรียมอาหารสำหรับผู้เข้าอบรมครบทุกมื้อตลอด 2 วันที่อบรม 
  • ผู้เข้าร่วมอบรมเตรียมขวดน้ำ หรือกระติกน้ำดื่มมาด้วย
หมายเหตุ
  • ควรเตรียมหมวกและเสื้อคลุมกันแดด หากท่านใดมีโรคประจำตัวควรเตรียมยาส่วนตัวมาให้พร้อม 
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
  • ค่าใช้จ่าย 2,000 บาท/ 2 วัน